CarbonWatch (การประเมินการกักเก็บคาร์บอนภาคป่าไม้และการจัดการภาคป่าไม้)เป็นการนำเทคโนโลยีดาวเทียมความละเอียดสูง (High Resolution Satellite Imagery) ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence and Machine Learning) นำมาวิเคราะห์และประเมินการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ เป็นวิธีการที่ได้รับการรับรองจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ว่ามีความถูกต้องแม่นยำสูง ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการวางแปลงสำรวจ อีกทั้งยังสามารถจัดเตรียมเอกสารส่วนหนึ่งสำหรับการขอขึ้นทะเบียนโครงการ (PDD) ตามมาตรฐาน T-VER

CarbonWatchเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถช่วยผู้พัฒนาโครงการในการขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิต โดยแบ่งการให้บริการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนก่อนการขึ้นทะเบียนและส่วนหลังการขึ้นทะเบียนโครงการ

ส่วนก่อนการขึ้นทะเบียน CarbonWatch มีบทบาทในการสนับสนุนผู้พัฒนาโครงการในการจำแนกประเภทของป่าไม้และประเมินความหนาแน่นของชั้นเรือนยอด เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ป่า
ส่วนหลังการขึ้นทะเบียน ผู้พัฒนาโครงการมีความจำเป็นต้องติดตามและเฝ้าระวังพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไฟป่าหรือการบุกรุกพื้นที่ ก่อนดำเนินการขอรับรองคาร์บอนเครดิตจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.
CarbonWatchมี 3 บริการสำหรับ ก่อนขึ้นทะเบียนโครงการ คือ การจำแนกประเภทป่าไม้ การประเมินความหนาแน่นชั้นเรือนยอด และการประเมินการกักเก็บคาร์บอน
1.การจำแนกประเภทป่าไม้
การจำแนกประเภทของป่าไม้เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการพัฒนาโครงการเครดิตคาร์บอน โดยอาศัยเทคโนโลยีดาวเทียมและข้อมูลภาคสนามเพื่อระบุลักษณะทางนิเวศวิทยาของป่าได้อย่างแม่นยำ ป่าจะถูกจำแนกตามลักษณะ เช่น ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรัง ซึ่งแต่ละประเภทป่ามีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนที่แตกต่างกัน ดังนั้น การจำแนกประเภทป่าอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ การจำแนกการใช้ที่ดินยังช่วยให้สามารถวางแผนพื้นที่สำรวจได้อย่างแม่นยำยิ่งและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง

2.การประเมินความหนาแน่นชั้นเรือนยอด
การประเมินความหนาแน่นชั้นเรือนยอดด้วยข้อมูลจากดาวเทียมเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้สามารถประเมินพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ในคราวเดียว ซึ่งช่วยลดเวลาการทำงานและทรัพยากรที่ใช้ในการสำรวจพื้นที่เมื่อเทียบกับการเก็บข้อมูลภาคสนามแบบดั้งเดิม โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมร่วมกับเทคโนโลยีAI สามารถจำแนกระดับความหนาแน่นของชั้นเรือนยอดออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ คือความหนาแน่นมาก ความหนานแน่นกลางและความหนาแน่นน้อย ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้ทีมสำรวจสามารถเลือกจุดลงแปลงที่มีความหลากหลายทางพืชพรรณ และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลและการประเมินสุขภาพของป่า รวมถึงการวิเคราะห์ความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนในแต่ละพื้นที่

3.การประเมินการกักเก็บคาร์บอน
หลังจากที่ผู้พัฒนาโครงการทำการจำแนกประเภทป่าไม้และประเมินความหนาแน่นชั้นเรือนยอกเสร็จเรียบร้อย สามารถประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีที่สะดวกสบาย รวดเร็วและคุ้มค่า เนื่องจากลดระยะเวลาในวางแปลงสำรวจ เหลือ1%ของพื้นที่โครงการ อีกทั้งแบบจำลองนี้ได้รับการรับลองจาก อบก. พร้อมสนับสนุนการจัดทำเอกสารโครงการภาคป่าไม้

CarbonWatchมี 2 บริการสำหรับ หลังขึ้นทะเบียนโครงการ คือ การติดตามไฟป่า และการติดตามป่าที่ถูกทำลาย
1. การติดตามไฟป่า
การเฝ้าระวังการเกิดไฟป่าด้วยข้อมูลจากดาวเทียมเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงในการติดตามและลดความเสี่ยงของการเกิดไฟป่า สามารถตรวจจับจุดความร้อนที่ผิดปกติ (Hotspot) ในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดไฟป่าได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถแจ้งเตือนทีมปฏิบัติงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันท่วงทีผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมถึง LINE Official Account ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ การวิเคราะห์พื้นที่เสียหายจากไฟป่าโดยใช้ข้อมูลรอยเผาไหม้ (Burn Scar) ยังช่วยในการประเมินผลกระทบจากไฟป่ารายเดือน โดยสามารถระบุพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายและปริมาณพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนฟื้นฟูป่าไม้และการขอรับรองเครดิตจากอบก.

2. การติดตามป่าที่ถูกทำลาย
เรากำลังพัฒนาแบบจำลองเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่า โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่า ทั้งในด้านการสูญเสียพื้นที่ป่าหรือการฟื้นฟูป่ารายเดือน ข้อมูลที่ได้จะช่วยให้ทีมงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตัดสินใจและวางแผนด้านการอนุรักษ์และการฟื้นฟูป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ แบบจำลองนี้ยังสามารถประเมินผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น การเกิดไฟป่า การบุกรุกพื้นที่ และการทำลายป่า ซึ่งช่วยให้สามารถจัดการปัญหาได้ทันท่วงที โดยข้อมูลจากแบบจำลองจะถูกนำมาใช้ในการกำหนดพื้นที่ที่ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

